วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2564

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.5

 

พระรัตนตรัย

ความหมายของพระธรรม

           พระธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ) ความหมายของพระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งสอน 2 ส่วน คือ

          หลักความจริง (สัจธรรม) เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เช่น การรักษาศีล 5 , อิทธิบาท 4 และพรหมวิหาร 4 เป็นต้น

คุณค่าแห่งธรรมะ

          หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีคุณค่าต่อมนุษย์ ดังปรากฏในบทสวดสรรเสริญธรรมคุณ 6 ประการ ดังนี้

          1.  เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

          2.  ผู้ปฏิบัติจะเห็นผลได้ด้วยตนเอง

          3. เป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา (อกาลิโก) ไม้ล้าสมัย

          4. เชิญชวนให้มาพิสูจน์ตรวจสอบได้

          5.  บุคคลควรน้อมรับนำมาปฏิบัติ

         6. วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน เมื่อลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะเข้าใจและรู้ผลที่ได้รับ

อริยสัจ 4

          1.   ทุกข์  ธรรมที่ควรรู้  ได้แก่  โลกธรรม 8 และขันธ์ 5

          2.   สมุทัย ธรรมที่ควรละ  ได้แก่  กรรมนิยาม กรรม 12 และมิจฉาวณิชชา 5

          3.   นิโรธ  ธรรมที่ควรบรรลุ  ได้แก่  วิมุตติ 5

          4.  มรรค  ธรรมที่ควรเจริญ  ได้แก่ ปาปณิกธรรม 3 ,ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4,โภคอาทิยะ 5,อริยวัฑฒิ 5 , อปริหานิย

               ธรรม 7 และมงคล 38 (ศึกษาเฉพาะเรื่อง จิตไม่เศร้าโศก จิตไม่มัวหมอง และจิตเกษม)

อริยสัจ 4

ความหมายของอริยสัจ 4

          อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาชีวิตของชาวพุทธ มีดังนี้

          1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความโศกเศร้าเสียใจ (สภาวะที่ต้องกำหนดรู้)

          2.  สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ส่วนใหญ่เกิดจากตัณหา (สภาวะที่ต้องละเว้น)

          3.  นิโรธ คือความทุกข์ สภาวะที่ทุกข์หมดสิ้น  (สภาวะที่ต้องบรรลุ)

          4.  ข้อปฏิบัติที่ทำให้ทุกข์ดับ เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 (สภาวะที่ต้องเจริญหรือทำให้มี)

ทุกข์ : ธรรมที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์  มีดังนี้

โลกธรรม 8

          ความหมาย โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ

สาระสำคัญของโลกธรรม 8 สรุปดังนี้

         - โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)              

               1. ได้ลาภ                

               2. ได้ยศ

               3. มีสรรเสริญ           

               4. มีสุข

         - โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)

               1. เสื่อมลาภ             

               2. เสื่อมยศ

               3. มีนินทา                

               4. มีทุกข์

สมุทัย  :  ธรรมที่ควรละ มีดังนี้

กรรมนิกาย

                กรรมนิกาย คือ กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กฎแห่งกรรมซึ่งชาวพุทธมักสรุปหลักคำสอนเรื่องนี้ว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

กรรม 12

          กรรม 12 คือ กรรมที่จำแนกตามผลที่ได้รับ มี 12 ประเภท ดังนี้

          1. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมที่เลิกผล (อโหสิกรรม)

          2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ชักนำให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมตัดรอน  และกรรมบีบคั้น

          3.  กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง 4 กรรม ได้แก่ กรรมหนัก กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชินกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย และกรรมสักแต่ว่าทำ (ไม่มีเจตนา)

มิจฉาวณิชชา 5

          มิจฉาวณิชชา 5 หมายถึง การค้าขายที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม 5 อย่างที่ชาวพุทธต้องละเว้นหรือไม่ควรทำ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าของมึนเมา และการค้ายาพิษ (สิ่งเสพย์ติด)

นิโรธ  : ธรรมที่ควรบรรลุ มีดังนี้

วิมุตติ 5

          วิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ ภาวะที่ไร้กิเลส หรือภาวะที่ทุกข์ดับ (ความหมายเดียวกับคำว่า นิโรธ ) มี 5 ประการ  (เรียกย่อ ๆ ว่า สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ

          1.  หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เป็นการระงับกิเลสด้วยการเจริญสมาธิ (สมถะ)

          2.  หลุดพ้นด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น หลุดพ้นจากความโกรธด้วยการให้อภัย หลุดพ้นจากความตระหนี่และความโลภด้วยการให้ทาน และหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยการเสียสละ (วิปัสสนา)

          3.  หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด คือ การทำลายกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไปด้วยญาณขั้นสูงสุด (มรรค)

          4.  หลุดพ้นอย่างสงบราบคาบ คือ หลุดพ้นเป็นอิสระเพราะกำจัดกิเลสที่ครอบงำได้อย่างราบคาบ (ผล)

          5.  หลุดพ้นจนเกิดภาวะปลอดโปร่ง คือ การเข้าสู่ภาวะนิพพาน

มรรค  :  ธรรมที่ควรเจริญ   มีดังนี้

ปาปณิกธรรม 3

          ปาปณิกธรรม หมายถึง คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้าที่ดี หรือหลักการค้าขายให้ประสบผลสำเร็จ มี 3 ประการ ดังนี้

          1. ตาดี (จักขุมา) คือ รู้ลักษณะของสินค้าที่ดีมีคุณภาพ รู้ต้นทุน กำหนดราคาขายและคำนวณผลกำไรได้ถูกต้อง

          2. ชำนาญธุรกิจ (วิธูโร) คือ รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวของตลาด และรู้ถึงรสนิยมความชอบและความต้องการของผู้บริโภค

          3. มีเงินทุน (นิสสยสัมปันโน) คือ รู้จักแหล่งกู้เงินมาลงทุนเพื่อมีเงินทุนหมุนเวียน และได้รับความไว้วางใจจากนายทุนเงินกู้

อปริหานิยธรรม 7

          อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ธรรมที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม หรือหลักปฏิบัติที่นำความสุขความเจริญมาสู่หมู่คณะ เป็นหลักธรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความสามัคคีของหมู่คณะ และการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สรุปได้ดังนี้

          1.  หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์

          2. พร้อมเพรียงในการประชุม มาประชุม เลิกประชุม และทำภารกิจอื่น ๆ ให้พร้อมกัน

          3.  ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ ตามอำเภอใจ โดยผิดหลักการเดิมที่หมู่คณะวางไว้

          4.  เคารพนับถือผู้มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำจากท่าน

          5.  ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี

          6.  เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และรูปเคารพต่าง ๆ

          7. ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์ผู้ทรงศีลและนักบวชอื่น ๆ ให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย

โภคอาทิยะ 5

          โภคอาทิยะ (หรือโภคาทิยะ) หมายถึง หลักธรรมที่สอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้หรือแนวทางในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ (ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค)มี 5 ประการ ดังนี้

          1.  ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ให้อยู่ดีมีสุข

          2.  ใช้จ่ายเพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานเป็นครั้งคราว

          3.  ใช้จ่ายเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย

          4. ใช้จ่ายเพื่อทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี)บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว

          5. ใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล และกิจการพระศาสนา

อริยวัฑฒิ 5

          อริยวัฑฒิ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน

          หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้

          1.  ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล เช่น เชื่อว่าบุญบาปมีจริง เชื่อในผลของกรรม และเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

          2.  ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป

          3. สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ)  หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้อีกด้วย

          4. จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น

          5.  ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก

ทิฏฐธัมิกัตถประโยชน์

          ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักปฏิบัติที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่บุคคลมี 4 ประการ คือ

          1. ความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) มีความขยันหมั่นเพียรในกิจการงาน

          2.  การเก็บรักษา (อารักขาสัมปทา) หรือประหยัด ใช้จ่ายพอดี รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้

          3.  การคบคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตร)รู้จักเลือกคบคนดี คนมีคุณธรรม และมีความรู้

          4.  การดำรงชีพที่เหมาะสมพอดีหรือตามกำลังทรัพย์ ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะของตน

มงคล 38

มงคล 38 ประการ

 มงคล 38 ประการ เป็นหลักธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ 3 มงคล ดังนี้

จิตไม่เศร้าโศก (มงคลที่ 36)

          1.  วิธีระงับจิตไม่ให้เศร้าโศก คือ เจริญสมาธิเพื่อระงับอารมณ์เศร้าโศก และพิจารณาชีวิตของ มนุษย์ว่าต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

          2.  ประโยชน์ของการมีจิตไม่เศร้าโศก คือ ชีวิตมีความสุขสงบ หน้าตาแจ่มใส สุขภาพจิตดี และมีความเจริญก้าวหน้าในการเรียนหรือการงาน

จิตไม่มัวหมอง (มงคลที่ 37)

          1.  จิตไม่มัวหมอง คือ สภาพจิตที่ใสสะอาดปราศจากกิเลส ไม่ขุ่นมัว

          2.  สาเหตุที่ทำให้จิตมัวหมอง คือ ราคะ (กำหนัด อยากได้) ,โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง)

          3.  วิธีทำให้จิตไม่มัวหมอง ได้แก่

                   - ควบคุมตนเอง ทั้งกาย วาจา และใจ ให้มีความอดทน และอดกลั้น

                   -  มีสติไตร่ตรอง ใช้ปัญญาหาสาเหตุ และแก้ไขด้วยปัญญา

                   - ปรึกษาขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้หรือกัลยาณมิตร เพื่อลดภาวะจิตมัวหมองให้น้อยลง

          4.  ผลจากสภาพจิตไม่มัวหมอง คือ มีอารมณ์สดชื่นเบิกบานแจ่มใส ชีวิตมีความสุขสงบ ไม่เร่าร้อน และหลุดพ้นจากความทุกข์

จิตเกษม (มงคลที่ 38)

       จิตเกษม คือ จิตที่ปราศจากโยคะ สภาพจิตที่สุขสบาย ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ห่างไกลจากกิเลส เป็นจิตของพระอรหันต์โดยแท้ และเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต

       วิธีสร้างจิตเกษม คือ ตัดโยคะออกไปให้หมดสิ้น โยคะ คือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ตกอยู่ในห้วงความทุกข์ไม่จบไม่สิ้น เช่น

- กามโยคะ ความยินดีในกามคุณทั้ง 5 จากรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส

- อวิชชาโยคะ  ความไม่รู้ ความเข้าใจ และไม่นำปฏิบัติในหลักธรรมอริยสัจ 4

        ประโยชน์ของการมีจิตเกษม ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์และมีสุขอย่างแท้จริง

ติวเนื้อหา หลักธรรมทางพระพุทธศาสน

โดย อาจารย์กนก จันทรา อาจารย์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม



ติวเนื้อหาเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือทำให้เกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น เรียกว่า ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
1.ลักษณะโครงสร้างของโลก
   นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและโครงสร้างของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนที่ภูเขาไฟพ่นออกมา ตลอดจนเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตที่อยู่ในอวกาศและตกลงมายังพื้นผิวโลก ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่า โลกมีโครงสร้างและส่วนประกอบซึ่งแบ่งได้ 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นเปลือกโลก (crust) ชั้นเนื้อโลก (mantle) และชั้นแก่นโลก (core)
   1.1 ชั้นเปลือกโลก
   เป็นพื้นผิวโลกที่อยู่ชั้นนอกสุด หนาประมาณ 35 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
       1. ชั้นไซอัล (sial layer) เป็นชั้นหินสีจาง มีแร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่ และมีอะลูมินาเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของเปลือกโลกชั้นไซอัล ได้แก่ หินแกรนิตชนิดต่าง ๆ
       2. ชั้นไซมา (sima layer) เป็นชั้นหินหนืดที่มีผืนหินแข็งกว่าหินเปลือกโลกชั้นไซอัล ประกอบด้วยซิลิกาและแมกนีเซียม และมีชั้นแนวแบ่งเขตมอฮอรอวีชีชกั้นอยู่ ตัวอย่างหินชั้นไซมา ได้แก่ หินบะซอลต์
   1.2 ชั้นเนื้อโลก
   เป็นชั้นที่สองของโครงสร้างของโลก หนาประมาณ 2,900กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีหินเย็นตัวแล้ว สันนิษฐานว่าชั้นนี้ประกอบด้วยหินชนิดเดียวกันตลอดชั้น
   1.3 ชั้นแก่นโลก
   เป็นโครงสร้างชั้นในสุดของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย ได้แก่
       1. แก่นโลกชั้นนอก (outer core) หนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินหนืดซึ่งเป็นหินหลอมละลายที่มีอุณหภูมิสูง มีแร่หลายชนิดและแก๊สกำมะถันละลายรวมอยู่ด้วย
       2. แก่นโลกชั้นใน (inner core) หนาประมาณ 2,500 กิโลเมตร เป็นชั้นของแข็งที่เป็นโลหะเหล็กและนิกเกิลที่อัดตัวกันแน่นภายใต้ความกดดันสูง และมีแรงดึงดูดมวลวัตถุอื่น ๆ เข้าสู่ศูนย์กลางของโลกมาก
 2.ลักษณะภูมิประเทศของโลก
   ปัจจัยที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมี 2 ประการ คือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก และปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากภายนอกโลก
   ลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของประชากรอีกด้วย ดังนี้
   1. ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นปัจจัยส่งเสริม เช่น ที่ราบ ส่วนที่เป็นอุปสรรค เช่น ที่ราบสูง
   2. ความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
       1) ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบภูเขามักจะเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่ ป่าไม้ สัตว์ป่า
       2) ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ เช่น ที่ยอดเขามีระดับอุณหภูมิต่ำกว่าเชิงเขา
 3. กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลก
   กระบวนการที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พื้นผิวโลกและเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 3 กลุ่ม ดังนี้
   3.1 กระบวนการแปรสัณฐาน (tectonic process)
   เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกอันเป็นผลจากแรงที่กระทำต่อเปลือกโลก แล้วทำให้โครงสร้างของหินที่ประกอบเป็นเปลือกโลกเกิดการแปรสภาพไปเป็นภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น มหาสมุทร ที่ราบสูง ภูเขา
       3.1.1 รอยคดโค้ง (fold)
       เกิดจากแรงดันภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกบีบอัดกันจนโค้งงอ แล้วเกิดเป็นภูเขา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
          1. ชั้นหินโค้งรูปประทุน (anticline) ชั้นหินที่อยู่บริเวณใจกลางจะมีอายุแก่ที่สุด
          2. ชั้นหินโค้งรูปประทุนหงาย (syncline) ชั้นหินที่อยู่บริเวณใจกลางจะมีอายุอ่อนที่สุด
       3.1.2 รอยเลื่อน (fault)
       รอยเลื่อนเกิดจากบริเวณเปลือกโลกที่มีความอ่อนตัว เกิดความเค้นและความเครียด จนทำให้เปลือกโลกเคลื่อนไหว และแยกออกจากกัน การเกิดรอยเลื่อนโดยทั่วไปมี 2 ทิศทาง ได้แก่
          1. การเกิดรอยเลื่อนในแนวดิ่ง มี 2 แบบ คือ
             1) รอยเลื่อนปกติ เกิดจากแรงดึงออกจากกันของหินสองฟาก ทำให้เกิดหน้าผารอยเลื่อนที่มีความสูงชัน
             2) รอยเลื่อนย้อน เกิดจากแรงดันเข้าหากันของหินสองฟาก ทำให้เกิดหน้าผาซึ่งมักถล่มได้ง่าย
       ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนปกติมี 2 แบบ ได้แก่ หุบเขาทรุดหรือกราเบน (graben) ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งราบที่เกิดจากการทรุดตัวตามแนวรอยเลื่อน และพื้นที่ยกตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาสูงที่ขนาบด้วยหน้าผารอยเลื่อนที่เรียกว่า ฮอสต์ (horst) หรือภูเขาบล็อก บริเวณที่ยกตัวสูงหากมีพื้นที่กว้างขวางเรียกว่า ที่ราบสูง



          2. การเกิดรอยเลื่อนในแนวนอน เรียกอีกอย่างว่า รอยเลื่อนแนวระดับ (strike fault) เกิดจากการเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างขนานกับแนวระดับของชั้นหินที่เลื่อนไป
       3.1.3 ภูเขาไฟปะทุ (volcanism)
       เกิดจากแมกมาถูกแรงดันผลักดันขึ้นสู่ผิวโลกด้านบน โดยมีแรงปะทุเกิดขึ้น เรียกว่า การปะทุของภูเขาไฟ หินหนืดที่พุ่งขึ้นมาจากการปะทุของภูเขาไฟสู่ผิวโลกนี้เรียกว่า ลาวา
       นักธรณีวิทยาจัดแบ่งภูเขาไฟตามลักษณะรูปร่างและการเกิดได้ 3 แบบ ดังนี้
          1. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ (cinder cone) มีขนาดเล็กที่สุด ลักษณะเหมือนกรวยที่คว่ำอยู่ เกิดจากหินหนืดถูกดันปะทุออกมาทางปล่องโดยแรง ทำให้ชิ้นส่วนของหินที่ร้อนจัดลุกเป็นไฟปะทุขึ้นไปในอากาศแล้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นกรวดภูเขาไฟและขี้เถ้ากองทับกันเป็นชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ
          2. ภูเขาไฟแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น (composite cone หรือ stratovolcano) มีลักษณะคล้ายแบบแรก แต่ฐานแผ่ขยายใหญ่และลาดจากปากปล่องมาที่ฐานมากกว่า เพราะนอกจากหินหนืดจะถูกดันปะทุขึ้นไปทางปากปล่องโดยตรงแล้ว ยังถูกดันออกมาทางด้านข้างของปล่องอีกด้วย แต่เนื่องจากหินหนืดที่ไหลออกมามีความหนืดสูง จึงไหลไปไม่ไกลนัก
          3. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) มีลักษณะกว้างเตี้ยคล้ายรูปโล่คว่ำ เกิดจากหินหนืดที่ไหลออกมาจากปล่องมีอุณหภูมิสูงมากและมีอัตราการไหลเร็วมากจึงไหลไปได้ในระยะทางไกล จึงเป็นภูเขาไฟที่มีรูปร่างกว้างใหญ่ที่สุด

 
       บริเวณขอบทวีปที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมีโอกาสเกิดภูเขาไฟปะทุมากกว่าบริเวณอื่น ๆ เนื่องจากบริเวณที่เปลือกโลกมุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืดที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก หินหนืดนี้จะถูกแรงดันอัดให้แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแตกแยกง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ
       การปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดแอ่งขนาดใหญ่ เรียกว่า แคลดีรา บางแห่งอาจมีน้ำขังจนกลายเป็นทะเลสาบ หรือบางแห่งอาจเกิดเป็นที่ราบสูงภูเขาไฟเนื่องจากลาวาที่ไหลออกมาปกคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง
       3.1.4 แผ่นดินไหว (earthquakes)
       แผ่นดินไหวเกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของเปลือกโลกที่มีการสะสมพลังความเค้นและความเครียด มักเกิดบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภูเขาไฟ ผลจากการเกิดแผ่นดินไหว อาจทำให้เกิดการถล่มของแผ่นดิน เกิดรอยแตกรอยแยกบริเวณเปลือกโลก
   3.2 กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน
   กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดินเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างช้า ๆ ทำให้ระดับพื้นผิวโลกมีระดับราบ หรือลาดสม่ำเสมอ อันเนื่องมาจากตัวการทางธรรมชาติที่สำคัญ เช่น น้ำไหล ลม ธารน้ำแข็ง คลื่น และกระแสน้ำ
       3.2.1 กระบวนการที่ทำให้เกิดการปรับระดับผิวแผ่นดิน
          1. การผุพังอยู่กับที่ (weathering) เป็นกระบวนทางเคมีของลมฟ้าอากาศและน้ำฝน รวมทั้งการกระทำของต้นไม้และแบคทีเรีย การผุพังอยู่กับที่เกิดขึ้นได้ 3 ประเภท คือ
             1) การผุพังทางกายภาพ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมบัติทางเคมีของหิน เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
             2) การผุพังทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่ประกอบหินที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น การละลาย (solution) ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับแร่ (oxidation)
             3) การผุพังทางชีวะ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต เช่น รากของพืชที่ซอกซอนรอยแยกของหินทำให้หินแตกออกมา
          2. การกร่อน (erosion) เกิดจากตัวการธรรมชาติที่เคลื่อนที่ได้ เช่น น้ำ ลม
          3. การพัดพา (transportation) เกิดจากตัวการธรรมชาติ เช่น ลม ธารน้ำแข็ง พัดพาวัตถุไป
          4. การทับถม (deposition) เป็นการเคลื่อนที่ของเศษตะกอนที่ถูกพัดพาไปทับถมยังบริเวณอื่น
       3.2.2 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการปรับระดับผิวแผ่นดิน
          1. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำและแม่น้ำ
          การกร่อน การพัดพา และการทับถม เป็นกระบวนการของแม่น้ำที่มีผลต่อลักษณะภูมิประเทศ โดยวิลเลียมเอ็ม. เดวิส (William M. Davis) นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำไว้ ดังนี้
          ระยะเริ่มแรกหรือวัยอ่อน (young age) ลักษณะภูมิประเทศจะมีความชันมาก น้ำจะไหลแรง บริเวณนี้ไม่ปรากฏที่ราบน้ำท่วมถึง
          วัยหนุ่ม (mature age) น้ำไหลช้าลงและมีลักษณะคดเคี้ยว แม่น้ำจะกัดเซาะบริเวณตลิ่งมากขึ้น เริ่มปรากฏที่ราบน้ำท่วมถึงในบริเวณนี้
          วัยชรา (old age) น้ำไหลช้ากว่าวัยหนุ่มและไหลคดโค้งขึ้น มีการตกตะกอนของวัตถุทำให้ท้องน้ำตื้น เกิดพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นบริเวณกว้าง บางบริเวณอาจมีเขาโดด (monadnock)
          ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ
             1) แก่ง (rapids) คือ ธารน้ำที่มีโขดหินขวางกั้นกระจายตามท้องน้ำ
             2) น้ำตก (waterfall) เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของกระแสน้ำที่ไหลผ่านธารน้ำที่มีชั้นหินรองรับอยู่ จนหินแข็งกร่อนและเปลี่ยนสภาพเป็นผาชันของน้ำตก
             3) หุบผาชัน (canyon) เกิดจากการกัดเซาะของน้ำบริเวณท้องน้ำอย่างรวดเร็วจนเป็นร่องลึก เหลือหน้าผาสูงชันทั้งสองด้าน
             4) ถ้ำ (cave) มักพบมากในบริเวณที่ภูเขามีลักษณะเป็นหินปูน ซึ่งน้ำใต้ดินและน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนจะค่อย ๆ กัดกร่อนหินปูนให้กลายเป็นช่องหรือโพรงขนาดใหญ่ และพัฒนามาเป็นถ้ำ และในถ้ำยังพบหินงอก (stalagmite) และหินย้อย (stalactite)
             5) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) เป็นที่ราบลุ่มที่อยู่ตามฝั่งของแม่น้ำในระยะวัยหนุ่มและวัยชรา เกิดจากการทับถมของตะกอนในช่วงน้ำหลาก ทำให้น้ำตื้นเขินเกิดเป็นที่ราบ
             6) เนินตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan) เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะที่แยกกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด ถ้าตะกอนสะสมตัวพูนสูงขึ้นจนเป็นรูปกรวยผ่าครึ่งตามยาว เรียกว่า เนินตะกอนน้ำพารูปกรวย ถ้าตะกอนส่วนใหญ่มีเนื้อหยาบ เรียกว่า เนินตะกอนหยาบรูปกรวย
             7) ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) เกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาตะกอนมาทับถมบริเวณปากแม่น้ำกลายเป็นพื้นดินแผ่กระจายเป็นรูปพัดบริเวณปากแม่น้ำ

          2. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม
          การกระทำของลมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น
             1) แอ่งในทะเลทราย ลมจะพัดพาเอาวัตถุที่อยู่ตามพื้นผิวดินหรือทะเลทรายขึ้นมา จนทำให้เกิดแอ่งขนาดเล็ก
             2) เขาโดดในทะเลทราย (inselberg) เกิดจากการกร่อน โดยลมกระทำต่อภูเขาที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวในทะเลทรายจนทำให้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป
             3) เนินทรายหรือสันทราย (sand dune) เกิดจากลักษณะแผ่นดินที่ตั้งขวางทิศทางลม ทำให้ลมพัดทรายละเอียดมาทับถมกันบริเวณด้านหน้าของสิ่งที่กั้นขวาง
             4) ดินเลิสส์ (loess) หรือดินลมหอบ เกิดจากลมพัดพาตะกอนดินมาจากเขตพื้นที่แห้งแล้งมาทับถมกัน
          3. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง
          ธารน้ำแข็งแบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้
             1) ธารน้ำแข็งหุบเขา (valley glacier) เป็นน้ำแข็งที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะแล้วไหลลงมาตามหุบเขา ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ เช่น
             เซิร์ก (cirque) เกิดจากธารน้ำแข็งกัดเซาะไหล่เขาให้เป็นแอ่งลึกเข้าไป ถ้าบริเวณแอ่งมีน้ำขังอยู่จะมีลักษณะเป็นทะเลทราย เรียกว่า ทาร์น (tarn)
             อาแรต(arête) อยู่ระหว่างแอ่งเซิร์ก 2 แห่ง มักมีลักษณะสันเขาหยักแหลม ๆ
             ฮอร์น (horn) คือบริเวณที่มีแอ่งเซิร์ก 3 แอ่ง หรือมากกว่านั้นหันหลังชนกัน จะเกิดยอดเขาแหลมรูปพีระมิดสูง
           หุบเขาธารน้ำแข็ง (glacial trough) คือบริเวณหุบเขาที่มีลักษณะลึกและกว้าง ขอบสูงชันคล้ายตัวยู (U-Shape valley) ถ้าหุบเขานี้อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหุบเขาแคบ ๆ มีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า ฟยอร์ด (fiord)
             2) ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป (continental glacier) พบอยู่บนภาคพื้นทวีปในเขตละติจูดสูง ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดขึ้นมักเกิดจากการกร่อน พัดพา และการทับถม เช่น
             ทะเลสาบธารน้ำแข็ง (glacier lake) เกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งจนทำให้เป็นหลุม เมื่อธารน้ำแข็งละลายจึงกลายเป็นทะเลสาบ
             ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง (outwash plain) เกิดจากเศษดินเศษหินที่ธารน้ำแข็งพัดพามาทับถมบริเวณปลายธารน้ำแข็ง
          4. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำ
          การกระทำของคลื่นและกระแสน้ำที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ เช่น
             1) แหลม (cape) และอ่าว (bay) ส่วนหินแข็งที่ยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม ส่วนบริเวณที่ถูกกัดเซาะเว้าเข้าไปในแผ่นดิน เรียกว่า อ่าว
             2) หน้าผาสูงชันริมทะเล (sea cliff) และโพรงหินชายฝั่ง (sea cave) เกิดจากการกัดเซาะของคลื่น ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชัน ถ้าบริเวณหน้าผาชายทะเลถูกคลื่นกัดเซาะบริเวณฐานของหน้าผา เรียกว่า โพรงหินชายฝั่ง
             3) ซุ้มหินชายฝั่ง (sea arch) มักเกิดขึ้นบริเวณหัวแหลม โดยกระแสน้ำจะกัดเซาะจนทำให้เกิดเป็นโพรงหิน เมื่อโพรงนี้ทะลุจะมีเป็นลักษณะเหมือนสะพานโค้งอยู่เหนือน้ำ
             4) หาดทราย (beach) เกิดขึ้นจากการทับถมของกรวดทรายที่คลื่นพัดพามา
             5) สันดอน (bar) เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาเอากรวด ทรายมาทับถมขวางทางไว้ เมื่อนานเข้าจะปรากฏเป็นเนินสูงพ้นจากพื้นน้ำ
             6) ที่ราบชายฝั่ง (coastal plain) เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาเศษวัตถุจากทะเลเข้ามาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดเป็นที่ราบ
   3.3 กระบวนการจากภายนอกโลก
   ตัวการที่สำคัญ ได้แก่ อุกกาบาต หากชิ้นส่วนที่ตกสู่ผิวโลกมีขนาดใหญ่จะทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขึ้น หลุมอุกกาบาตที่พบอยู่ทั่วไปบนผิวโลกมีทั้งสิ้นราว 50 หลุม โดยหลุมอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่รัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
4. ปัญหาทางกายภาพของประเทศไทยและของโลก
    4.1 ปัญหาทางกายภาพของประเทศไทย
       ตัวอย่างปัญหาทางกายภาพในประเทศไทย
       ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นชื่อทุ่งกว้างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในพื้นที่บางส่วนของ 5 จังหวัด 10 อำเภอ
ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแอ่งกว้าง มีขอบสูงลาดลงตรงกลาง ฤดูฝนน้ำจะท่วมขังอยู่กลางทุ่ง ส่วนในฤดูแล้งบริเวณทั่วท้องทุ่งน้ำอาจมีน้ำขังอยู่บ้างตามหนองน้ำ แต่พอเดือนเมษายนหนองน้ำทั้งหลายก็เหือดแห้งไปหมด
       ดินในทุ่งกุลาร้องไห้เป็นดินตะกอน (slit) หรือทรายแป้ง เกิดจากการสลายตัวของหินชุดโคราช มีความอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ปานกลางลงไปกระทั่งน้อย
       สภาพอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน คือ มีระยะที่ฝนตกชุกและฝนแล้งสลับกัน ระยะที่ฝนตกชุกอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ส่วนเดือนธันวาคม - มกราคมเป็นเดือนที่แล้งจัดที่สุด จนกระทั่งเดือนมีนาคม – เมษายน อากาศจะร้อนจัด
       ทุ่งกุลาร้องไห้เริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังระหว่าง พ.ศ. 2524 – 2546 ผลการพัฒนาทำให้ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีของประเทศ และประชากรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
   4.2 ปัญหาทางกายภาพของโลก
       ตัวอย่างปัญหาทางกายภาพของโลก
       ทะเลทราย หมายถึง ดินแดนซึ่งมีความร้อนและแห้งแล้งจัดจนพืช สัตว์ และมนุษย์แทบจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทะเลทรายที่เกิดขึ้นบนพื้นโลกสามารถแบ่งออกเป็น 2 เขต ได้แก่
       1) ทะเลทรายแถบลมค้า (trade wind desert) เป็นทะเลทรายในพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมค้า (trade wind) ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ใต้เส้นศูนย์สูตรไปถึง 30 – 35 องศาเหนือและใต้
       2) ทะเลทรายภาคพื้นทวีป (continental desert) เป็นทะเลทรายที่อยู่ลึกเข้าไปในภาคพื้นทวีปและได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมากหรือแทบไม่ได้รับเลย
       การกระทำของลมและสภาพภูมิอากาศในเขตแห้งแล้ง สามารถจำแนกทะเลทรายตามลักษณะที่ปรากฏได้ดังนี้
       1) ทะเลทรายหิน (hammada) เป็นทะเลทรายที่ปกคลุมด้วยหินแข็ง เนื่องจากเม็ดทรายและดินถูกลมพัดพาไปจนหมดสิ้น
       2) ทะเลทรายหินกรวด (reg) เป็นทะเลทรายที่ปกคลุมด้วยเศษหินและกรวด ในประเทศอียิปต์และประเทศลิเบียเรียกทะเลทรายชนิดนี้ว่า เซเรียร์ (serir)
       3) ทะเลทรายทราย (erg) เป็นทะเลทรายที่ปกคลุมพื้นที่แห้งแล้ง ประกอบด้วยเนินทรายแบบต่าง ๆ
       4) ทะเลทรายแดนทุรกันดาร (badland desert) เป็นร่องธารและหุบเหวขนาดใหญ่ที่มีความกว้างและลึก ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย
       5) ทะเลทรายภูเขา (mountain desert) พื้นที่ตามที่ราบสูงหรือภูเขาจะเกิดการกร่อนจากน้ำค้างแข็ง ทำให้ภูมิประเทศผุพังสลายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง
5. ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยและของโลก
   5.1 แผ่นดินถล่ม (landslide)
   มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในฤดูฝนบริเวณภูเขา โดยภูเขานั้นอุ้มน้ำไว้จนอิ่มตัวจึงเกิดการพังทลายลงมา
       สาเหตุการเกิดแผ่นดินถล่ม
       มักเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง และไม่มีต้นไม้ดูดซับน้ำ ประกอบกับปัจจัยอย่างอื่นที่ส่งเสริมความรุนแรงของแผ่นดินถล่ม ได้แก่ ลักษณะและโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น รอยแตก รอยเลื่อน ชั้นหินคดโค้ง และความลาดชันของภูเขา
       ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินถล่ม
       ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ก็ได้รับความเสียหายไปด้วย เช่น ดินเสื่อมสภาพ คุณภาพน้ำลดลง ตลอดจนทำความเสียหายต่อเขื่อน เนื่องจากเศษซากต่าง ๆ ขวางทางเดินของน้ำ เมื่อเขื่อนกั้นน้ำพังก็จะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล
       การป้องกันดินถล่ม
       ไม่ตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นแหล่งซับน้ำที่สำคัญ ถ้าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรสังเกตสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นการบอกเหตุว่าอาจเกิดแผ่นดินถล่ม เพื่อการอพยพได้ทันท่วงที
   5.2 อุทกภัย (flood)
   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุทกภัยมีความรุนแรงและมีรูปแบบต่าง ๆ คือ ลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่บริเวณนั้น อุทกภัยแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
       1. น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นบริเวณที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ดินดูดซับน้ำไม่ทัน น้ำฝนจึงไหลสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว
       2. น้ำท่วมขัง มักเกิดบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ซึ่งอาจมีอาคารบ้านเรือนกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้น้ำที่ท่วมขังระบายออกไม่ได้
       3. น้ำล้นตลิ่ง เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ระบายน้ำไม่ทัน จึงเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวนไร่นาและบ้านเรือน
       4. คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมชายฝั่งทะเล
       ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย
       ทางตรง เช่น ทำให้บ้านเรือน ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหาย ทางอ้อม เช่น การระบาดของโรคที่มีน้ำเป็นสื่อ ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนปัญหาทางการเมือง
       การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
       ติดตามข่าวรายงานอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ และควรสังเกตปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน หลังเกิดอุทกภัยควรระวังโรคระบาดเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
   5.3 ภัยแล้ง (drought)
   เกิดจากการที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานาน ทำให้ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค
       สาเหตุการเกิดภัยแล้ง
       ภัยแล้งเกิดขึ้นทั้งจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม การทำลายชั้นโอโซน และเกิดจากธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
       ผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง
       ภัยแล้งส่งผลกระทบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เกี่ยวเนื่องกันไป เช่น เมื่อเกิดความแห้งแล้งทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ประชาชนไม่มีงานทำจึงต้องละทิ้งถิ่นฐานมาทำงานในเมืองใหญ่
       การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยแล้ง
       ทำได้หลายวิธี เช่น การทำฝนเทียม การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการรักษาป่าไม้ให้คงความอุดมสมบูรณ์
   5.4 แผ่นดินไหว (earthquake)
   เกิดจากการที่แผ่นดินสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและทรัพย์สินโดยขนาดของแผ่นดินไหว ความรุนแรง และผลที่เกิดขึ้นใช้มาตราริกเตอร์เป็นเกณฑ์แบ่งระดับความสัมพันธ์
       ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหว
       ความเสียหายทางตรงมักจะเกิดกับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักจะปรากฏเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะหากแผ่นดินไหวมีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ของคลื่นขนาดใหญ่เรียกว่า สึนามิ (Tsunami)
       การป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
       ทำได้โดยการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษา ดูแล และเตือนภัยประชาชน รวมถึงการออกกฎหมายว่าด้วยมาตรการด้านวิศวกรรมของอาคารสูงให้ทนทานต่อแรงไหวสะเทือน
       สำหรับประชาชนทั่วไป ควรติดตามข่าวสารและเข้าร่วมฝึกฝนการหนีภัยแผ่นดินไหวจากทางราชการอย่างสม่ำเสมอเพื่อเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวจะปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
   5.5 สึนามิ (Tsunami)
   สึนามิ หมายถึง คลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและมีพลังมาก เกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น บริเวณที่เกิดคลื่นสึนามิบ่อยครั้ง คือในมหาสมุทรแปซิฟิก
   ส่วนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าถล่มชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตก ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด คือจังหวัดพังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล
       1. สาเหตุการเกิด
       เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนจากแผ่นดินไหว แผ่นดินเลื่อน หรืออุกกาบาตพุ่งชน จนทำให้น้ำทะเลเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ
       2. ผลกระทบที่เกิดจากคลื่นสึนามิ
       ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ประชาชนขาดที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างและสาธารณูปโภคถูกทำลาย ประเทศขาดรายได้จากการท่องเที่ยว เนื่องจากพื้นที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย
       3. มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
       กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศมาตรการในการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ ซึ่งประชาชนควรปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด เช่น ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนเข้าร่วมฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เพื่อเวลาที่เกิดเหตุขึ้นจริงจะได้ช่วยเหลือตนเองได้
   5.6 ภูเขาไฟ (volcano)
   ภูเขาไฟเกิดจากหินหลอมเหลวที่อยู่ภายในโลกถูกแรงกระทำให้เคลื่อนที่มาสู่พื้นผิวของโลก หรือเกิดจากหินหนืดหรือลาวาที่ปะทุจากภายในโลกขึ้นสู่ยังผิวโลก
       1. ผลกระทบจากภูเขาไฟ
       ความเสียหายจากการปะทุของภูเขาไฟเกิดจากการไหลบ่าของหินหนืด เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง เศษหิน ตกลงมาทับถมอย่างรวดเร็วทำให้ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตาม การระเบิดของภูเขาไฟก็มีประโยชน์ คือ พื้นผิวของลาวาที่ทับถมอยู่ในบริเวณหรือที่ราบสูง เมื่อปล่อยทิ้งไว้จนเกิดการสลายเป็นดินอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ดินลาวา เหมาะที่จะนำไปใช้ในการเพาะปลูกมาก นอกจากนี้ภูเขาไฟบางลูกยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม เช่น ภูเขาไฟฟุจิ ประเทศญี่ปุ่น
       2. การป้องกันภัยจากภูเขาไฟ
       การระเบิดของภูเขาไฟป้องกันไม่ได้ แต่สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการระเบิดของภูเขาไฟเพื่อหาวิธีลดผลกระทบที่อาจเกิด เช่น กรณีเกิดภูเขาไฟระเบิด อาจทราบล่วงหน้าได้โดยการสังเกตได้จากกลุ่มควันที่กรุ่น ๆ ออกมา แล้วอพยพผู้คนและทรัพย์สินออกจากบริเวณภูเขาไฟให้ห่างจากรัศมีลาวาที่จะไหลมาถึง
   5.7 พายุหมุน (cyclone)
   พายุหมุนก่อตัวขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ บริเวณใกล้ศูนย์กลางพายุหมุนมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลม เรียกว่า ตาพายุ (storm eye) โดยทั่วไปมีศูนย์กลาง 15 – 60 กิโลเมตร พายุหมุนแบ่งตามลักษณะและแหล่งกำเนิดออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
       1. พายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclone) มีแหล่งกำเนิดบริเวณน่านน้ำในเขตละติจูดต่ำ
       2. พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) มีแหล่งกำเนิดบริเวณละติจูดกลางและเหนือขึ้นไป
       3. ทอร์นาโด (tornado) เป็นพายุหมุนที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่มีความรุนแรงมากที่สุด
   พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด ได้แก่ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น แต่ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เรียกว่า เฮอร์ริเคน หากเกิดบริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนืออ่าวเบงกอล เรียกว่า พายุไซโคลน และหากเกิดในมหาสมุทรอินเดียใต้ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี-วิลลี (willy-willy)
   พายุหมุนเขตร้อนในประเทศไทย
   ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากทางตะวันออกของประเทศ มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ โดยความรุนแรงของพายุแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
       พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
       พายุโซนร้อน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
       พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต หรือ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
   สำหรับประเทศไทยพายุหมุนส่วนใหญ่ที่เคลื่อนตัวเข้ามาจะอยู่ในระดับของพายุดีเปรสชัน เนื่องจากพายุอ่อนกำลังลงก่อนถึงประเทศไทย ส่วนที่มีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่นมีน้อยมาก แต่พายุหมุนเขตร้อนก็ยังมีด้านที่เป็นประโยชน์อยู่ด้วย คือ พายุดีเปรสชันจะทำให้ฝนตกปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยคลี่คลายสภาวะความแห้งแล้งและสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง


แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th 

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Geographic (เครื่องมือทางภูมิศาสตร์)





1.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ 
        ความหมาย 
        เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง เครื่องมือในการตรวจสอบและศึกษาสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก และบรรยากาศของโลก จึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ทั้งทางด้านข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลทางคุณภาพ เช่น การกำหนดพิกัดบนพื้นผิวโลก การวัดทิศทางการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ต่าง ๆ หรือใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ 
        เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ ตำแหน่ง ทำเลที่ตั้การกระจาย ขอบเขต ความหนาแน่นของข้อมูล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ





        1. ประเภทให้ข้อมูล 
             1.1 แผนที่ (Map) 
                    เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ 
                 1) ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ และป่าไม้ 
             2) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน เขื่อน ที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ





                        ชนิดของแผนที่ 
                          
1. แผนที่ทั่วไป เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะโดยทั่วไปได้แก่แผนที่แสดงลักษณะภูมิภาคต่างๆ โดยจะแสดงด้วยสี เพื่อให้เห็นความแตกต่างของลักษณะแผ่นดิน
                          2. แผนที่อ้างอิง เป็นแผนที่ที่ใช้เป็นหลักในการทำแผนที่ชนิดอื่น ๆ แผนที่อ้างอิงที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ คือ แผนที่ที่ใช้แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา แม่น้ำ เกาะถนน เมือง และแผนที่ชุด คือ แผนที่หลายเเผ่นที่มีมาตราส่วนและรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน และครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ     
                          3. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะเฉพาะตามจุดมุ่งหมาย เช่น แผนที่ แสดงป่าไม้ แผนที่แสดงเส้นทางคมนาคม แผนที่แสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น สามารถแบ่งได้ดังนี้
                             3.1 แผนที่รัฐกิจ (political map) คือแผนที่แสดงอาณาเขตทางการปกครอง เช่น เขตจังหวัดหรือประเทศ แผนที่ชนิดนี้จะต้องแสดงอาณาเขตติดต่อกับดินเเดนของประเทศหรือรัฐอื่น พร้อมทั้งแสดงที่ตั้ง ชื่อเมืองหลวง เมืองท่า หรือเมืองสำคัญอื่น 


                            3.2 แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) เป็นแผนที่สำหรับแสดงข้อมูลด้านภูมิอากาศโดยเฉพาะ เช่นแผนที่เขตภูมิอากาศของโลก แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของประเทศไทย แผนที่ปริมาณฝนเฉลี่ยของโลกแผนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก   



                          3.3 แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอายุ ประเภท และการกระจายตัวของหินเปลือกโลก การตกตะกอนทับถมของสารต่าง ๆที่ผิวโลกรวมทั้งแสดงรอยเลื่อนที่  ปรากฎบนผิวโลก และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ  
                          3.4 แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงอาณาเขตที่ดินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ในเขตตำบล อำเภอ หรือจังหวัด โดยแบ่งออกเป็นแปลงๆ และแต่ละเเปลงต่างก็แสดงสิทธิการครอบครองโดยการเเสดงการเป็นเจ้าของ    
                           3.5 แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อเเสดงประเภทของพืชพรรณธรรมชาติและการกระจายตัวของพืชพรรณชนิดนั้น ๆ ที่ปรากฎบนโลก ภูมิภาคหรือประเทศต่างๆ
                        3.6 แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเพื่อแนะนำสถานที่นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งและสถานที่ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องสำหรับการท่องเที่ยว เช่น เส้นทางการคมนาคมทั้งทางบก เรือ อากาศ ทีพัก ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ชายหาด น้ำตก เกาะ แก่ง ภูเขา อุทยาน เป็นต้น


              1.2 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography)    เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน ส่วนหน่วยงานที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม การนำไปไปใช้ประโยชน์ มีหน่วยราชการอื่น ๆ นำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการและการพัฒนาความเจริญของบ้านเมือง ดังนี้ 
               1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบจากรูป ถ่ายที่ถ่ายในระยะเวลาแตกต่างกัน เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน การพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและการขยายตัวของชุมชนเมืองเข้าไปในพื้นทีjเกษตรกรรม 
              2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน โดยนำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภท การใช้ที่ดินของประเทศ โดยกำหนดโซนหรือแบ่งพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรม และเขตชุมชนที่อยู่อาศัย 
                   3) การอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ รูปถ่ายทางอากาศทำให้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพื้นที่ ต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป 
          การศึกษาข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่า ศึกษาด้วยกล้องสามมิติ เนื่องจากรูปถ่ายทางอากาศไม่มีคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้น จึงควรศึกษาควบคู่กับแผนที่ด้วยจะทำให้เข้าใจง่าย 



              1.3 ภาพจากดาวเทียม 
                    1.3.1 ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ 
              1.3.2 การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง (Remote Sensing) โดย ดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นผิวโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลกจากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์ม 
                     1.3.3 ภาพจากดาวเทียวให้ประโยชน์ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิ 
ประเทศของพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น 




             1.4 อินเทอร์เน็ต                     1.4.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ ไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค “การสื่อสารไร้พรมแดน” 
                     1.4.2 บริการในอินเทอร์เน็ต (World Wild Web : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพ็จ” (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม 

              1.5 ลูกโลกจำลอง    ลูกโลกจำลองเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจำลองลักษณะของโลก แสดงที่ตั้งอาณาเขต พรมแดนของประเทศต่างๆและลูกโลกจำลองยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโลกได้เป็นอย่างดี 


2. ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ 

                อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น ทิศ ระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้ 

                 2.1 เข็มทิศ (Compass)เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางเข็มทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลกต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก 




                 2.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter)มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่และแสดงค่าบนหน้าปัด 



                2.3 เทปวัดระยะทางใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่ 


                 2.4 เครื่องย่อขยายแผนที่ (Pantograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่ต้นฉบับและมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉบับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรือขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง 


                 2.5 กล้องวัดระดับ (Telescope)เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ



               2.6 กล้องสามมิติ (Stereoscope)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของ ลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้น ๆ 
                 2.7 กล้องสามมิติแบบพกพา 





                 2.8 เครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ                        
 (1) เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิมี 2 ระบบ ดังนี้                               - ระบบเซลเซียส (0 – 100 องศา C) 
                              - ระบบฟาเรนไฮต์ (32 – 212 องศา F) 



                         (2) บาโรมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด คือ 
                              - แบบปรอท ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่างแก้วที่บรรจุปรอท

                              - แบบแอนิรอยด์ (Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนาดเล็ก ที่หน้าปัดจะมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้ 

                         (3) เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge) ครื่องมือวัดที่ถูกใช้โดยนักอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาเพื่อวัดปริมาณน้ำฝน มักจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรหรือนิ้ว เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนเป็นเครื่องมืออุตุนิยมวิทยสำหรับวัดความลึก ของน้ำฝนในพื้นที่หนึ่งตารางเมตร การวัดน้ำฝน1 มิลลิเมตร จะเทียบเท่าปริมาณน้ำฝน 1 ลิตรต่อตารางเมตร

                          เครืองวัดปริมาณน้ำฝนแบบเก่า                                            เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนรุ่นใหม่

                       (4) แอโรแวน (Aerovane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้ 
                               - แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม 



                               - วินแวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร 

                      (5) ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer)ใช้วัดความชื้นของอากาศโดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น 


                          (6) ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก) 






  2.เทคโนโลภูมิสารสนเทศ(Geoinfformatics)
     เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ(Geoinfformatics)  คือ  ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีดด้นการสำรวจ  การทำแผนที่  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน  เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่โลก  โดยอาศัยเทคโนโลยีภูมิศารสนเทศ  ประกอบด้วย  การรับรู้ระยะไกล  (RS) ระบบกำหนดตำแหน่งพื้นโลก (GPS)และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

การรับรู้จากระยะไกล(remote sensing)

           การรับรู้จากระยะไกลเป็นเทคโนโลยีที่ใช้บันทึกคุณลักษณะของวัตถุต่าง ๆ จากการสะท้อนหรือการแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งการเก็บข้อมูลโดยการรับรู้จากระยะไกลมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้วัดค่าพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนมาจากวัตถุต่าง ๆ เรียกว่า เครื่องวัดจากระยะไกล (remote sensor) หรือเครื่องวัด (sensor) เช่นกล้องถ่ายรูป เครื่องกราดภาพ (scanner) ยานพาหนะที่ใช้ติดตั้งเครื่องวัด เรียกว่า ยานสำรวจ (platform) เช่น เครื่องบินดาวเทียม และผลิตภัณฑ์สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการรับรู้จากระยะไกล เช่น รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจากดาวเทียม
http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other6/u1-35.png


กระบวนการและองค์ประกอบของการรับรู้จากระยะไกล ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
          1. การรับสัญญาณข้อมูล ดวงอาทิตย์
          (ก) จะกระจายพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านชั้นบรรยากาศมายังพื้นผิวโลก
          (ข) ซึ่งวัตถุแต่ละชนิดจะดูดกลืนและสะท้อนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ากลับไปยังชั้นบรรยากาศ
          (ค) ระบบถ่ายภาพจะเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องวัดที่ติดตั้งในยานสำรวจ
          (ง) ทำให้ได้ภัณฑ์ผลิตข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อมูลเชิงตัวเลข (จ)
          2. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนำผลิตภัณฑ์ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
          (ฉ) ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ
          (ช) เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป (ซ)
          สำหรับกระบวนการรับรู้จากระยะไกลในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาที่สถานีรับสัญญาณดาวเทียมลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ชนิดของข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล

    1.รูปถ่ายทางอากาศ
        รูปถ่ายทางอากาศ  คือ  รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ  โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม  หรือข้อมูลเชิงเลข  ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยาน  อันได้แก่  บัลลูน  เครื่องบิน  เป็นต้น  ในสมัยปัจจุบันมีการถ่ายรูปทางอากาศจากยานอวกาศได้ด้วยปกติการถ่ายรูปทางอากาศจะถ่ายจากเครื่องบินที่มีการวางแผนการบิน  และกำหนดมาตราส่วนของแผนที่มาแล้วเป็นอย่างดี  กล้องถ่ายรูปทางอากาศคล้ายกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปในอดีตแต่มีขนาดใหญ่กว่า  เลนส์ยาวกว่า  และใช้ฟิล์มขนาดใหญ่  ซึ่งปกติจะมีขนาดประมาณ  24 x  24  เซนติเมตร  รูปถ่ายทางอากาศจะให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียด  นอกจากนี้  รูปถ่ายทางอากาศมีการถ่ายรูปซ้อนทับพื้นที่บนรูปที่ต่อเนื่องกัน  จึงสามารถดูเป็นภาพสามมิติ  หรือทรวดทรงของผิวโลกได้  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในด้านภูมิศาสตร์
   1) ประเภทของรูปถ่ายทางอากาศ  รูปถ่ายทางอากาศ  มี  2  ประเภทใหญ่ๆ  ตามลักษณะการถ่ายรูปดังนี้
      1.1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่ง  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายรูปในแนวตั้งฉากกับผิวโลกและไม่เห็นแนวขอบฟ้า
     1.2) รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียง  เป็นรูปถ่ายที่เกิดจากการกำหนดแกนของกล้องในลักษณะเฉียง  แบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
            1)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูง  ลักษณะรูปถ่ายจะเห็นแนวขอบฟ้าเป็นแนวกว้างใหญ่
         2)  รูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงต่ำ  เป็นรูปถ่ายทางอากาศที่ไม่ปรากฏเส้นขอบฟ้าในภาพรูปถ่ายทางอากาศแนวเฉียงสูงและแนวเฉียงต่ำใช้แสดงภาพรวมของพื้นที่แต่มีมาตราส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศแตกต่างกัน  รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมีมาตราส่วนในรูปค่อนข้างคงที่  จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ทำแผนที่
           2) หลักการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ  มีหลักการ  ดังนี้
               2.1)  ความแตกต่างของความเข้มของสี  วัตถุต่างชนิดกันจะมีการสะท้อนคลื่นแสงต่างกัน  เช่น  ดินแห้งที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมจะสะท้อนคลื่นแสงมาก  จึงมีสีขาว  น้ำดูดซับเคลื่อนแสงมากจะสะท้อนคลื่นแสงน้อย  จึงมีสีดำ  บ่อน้ำตื้นหรือมีตะกอนมากจะสะท้อนคลื่นแสงได้ดีกว่าบ่อน้ำลึกหรือเป็นน้ำใส  ป่าไม้หนาทึบจะสะท้อนคลื่นแสงน้อยกว่าป่าไม้ถูกทำลาย  ดังนั้น  ป่าไม้แน่นทึบจึงมีสีเข้มกว่าป่าถูกทำลาย  เป็นต้น
                2.2)  ขนาดและรูปร่าง  เช่น  สนามฟุตบอลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่  เป็นต้น
          2.3)  เนื้อภาพและรูปแบบ  เช่น  ป่าไม้ธรรมชาติจะมีเรือนยอดเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้างมีระดับสูงต่ำ  และไม่เรียงเป็นระเบียบ  ส่วนป่าปลูกจะมีเรือนยอดสูงใกล้เคียงกันละเรียงเป็นระเบียบ  เป็นต้น
              2.4)  ความสูงและเงา  ในกรณีที่วัตถุมีความสูง  เช่น  ต้นไม้สูง  ตึกสูง  เป็นต้น  เมื่อถ่ายรูปทางอากาศในระดับไม่สูงมาก  และเป็นช่วงเวลาเช้า  หรือเวลาบ่ายจะมีเงา  ทำให้ช่วยในการแปลความหมายได้ดี
              2.5)  ตำแหน่งและความสัมพันธ์  เช่น  เรือในแม่น้ำ  เรือในทะเล  รถยนต์บนถนน  ต่างแสดงตำแหน่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  เป็นต้น
          2.6)  ข้อมูลประกอบ  เช่น  ใช้แผนที่การใช้ที่ดิน  แผนที่ป่าไม้ประกอบการแปลความหมายด้านการใช้ที่ดินและป่าไม้  เป็นต้น
              2.7)  การตรวจสอบข้อมูล  ผู้แปลจะต้องมีความรู้ที่จะนำองค์ประกอบมาผสมผสานกัน  การตรวจสอบข้อมูลภาคสนามจะช่วยให้การแปลความหมายถูกต้องแม่นยำ  แต่รูปถ่ายทางอากาศที่ถ่ายในช่วงปีที่แตกต่างกันจะช่วยทำให้เห็นลักษณะการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทั้งโดยกิจกรรมของมนุษย์และตามสภาพธรรมชาติ
             3)  ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ  มีดังนี้
                  1.  การสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศ
                  2.  การใช้ในกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ
                  3.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  4.  การสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ที่ดิน
                  5.  การวางผังเมืองและการสำรวจแหล่งโบราณคดี
                  6.  การสำรวจและการติดตามด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ
    ดาวเทียม  คือ  วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเลียนแบบดาวบริวารของดาวเคราะห์  เพื่อให้โคจรรอบโลกมีอุปกรณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศและถ่ายทอดข้อมูลนั้นมายังโลก  ดาวเทียมที่โคจรรอบโลกใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย  เช่น  ถ่ายทอดคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ข้ามทวีป  หรือใช้ในการบันทึกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นบนแผ่นดินและผืนน้ำ
      ข้อมูลจากดาวเทียม  เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ  ณ  สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร  ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี  และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร  และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ  เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว  จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม  ที่นำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่  ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้
   1) ชนิดของดาวเทียม  แบ่งออกได้ดังนี้
        1.1)  ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมบางดวงจะโคจรรอบโลกในอัตราเร็วเท่ากับการหมุนของโลกและอยู่ในแนวตะวันออกตะวันตกเสมอ  เช่น  ดาวเทียม  GMS  ดาวเทียม  GOES  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลภูมิอากาศเกือบตลอดเวลา  จึงเป็นประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศและการเตือนภัย
      1.2)  ดาวเทียมสมุทรศาสตร์  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลสมุทรศาสตร์  เช่น  ดาวเทียม SEASAT  จะบันทึกข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์  และดาวเทียม  MOS  (Marine  Observation  Satellite)  นอกจากจะใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจด้านสมุทรศาสตร์แล้ว  ยังนำมาใช้ในการสำรวจบนแผ่นดินแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก  เป็นต้น
       1.3)  ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน  เป็นดาวเทียมที่บันทึกข้อมูลของผิวโลก  จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย  เช่น  ดาวเทียมธีออส  THEOS  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย  ส่วนดาวเทียม  LANDSAT  ของสหรัฐอเมริกา  ดาวเทียม  SPOT  ของประเทศฝรั่งเศส  ดาวเทียม  ERS  ของกลุ่มประเทศยุโรป  ดาวเทียม  RANDARSAT  ของประเทศแคนาดา  เป็นต้น
    1.4) ดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคม  เช่น  การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์  โทรสาร  ข่าวสาร  ภาพโทรทัศน์  รายการวิทยุ  ข้อมูลข่าวสาร  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่อยู่คงที่บนฟ้าของประเทศใดประเทศหนึ่งตลอดเวลา  โดยหลายประเทศจะมีดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศของตนเอง  เช่น  ประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม  ประเทศญี่ปุ่นมีดาวเทียมซากุระ  ประเทศฝรั่งเศสมีดาวเทียมยูริสหรัฐอเมริกามีดาวเทียมเวสดาร์  แคนาดามีดาวเทียมแอนิค  เป็นต้น
     1.5)  ดาวเทียมเพื่อกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจหาตำแหน่งของวัตถุบนพื้นโลก  ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน  เช่น  เป็นเครื่องมือนำร่องยานพาหนะต่างๆ  จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง  การกำหนดตำแหน่งเพื่อวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค  การหาตำแหน่งของสถานที่ที่ต้องการเดินทางไปโดยใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด  เป็นต้น
      1.6) ดาวเทียมเพื่อกิจการทหาร  เป็นดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจของทหาร  การถ่ายภาพจากกรรมความลับของข้าศึก  การศึกษาแนวพรมแดน  การกำหนดเป้าโจมตีทางทหาร  ดาวเทียมทหารมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ  และดาวเทียมทั่วไปก็อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเพื่อใช้งานทางทหาร  เช่น  การใช้ดาวเทียมสื่อสารในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพการใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาในการสำรวจอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการทางทหารต่างๆ  เป็นต้น
    2)  การแปลความหมายภาพจากดาวเทียม  สามารถทำได้  ดังนี้
          2.1)  ในกรณีที่พิมพ์ข้อมูลเป็นภาพพิมพ์  อาจจะเป็นภาพขาว – ดำ  หรือภาพสี  จะแปลความหมายโดยใช้วิธีเดียวกับการแปลความหมายจากรูปถ่ายทางอากาศ
        2.2) ในกรณีที่เป็นข้อมูลตัวเลข  ข้อมูลตัวเลขที่ได้จากดาวเทียมจะถูกแปลงเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมเฉพาะในการแปลความหมาย  อาจจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมช่วยจัดกลุ่มข้อมูลตามหลักสถิติ  แล้วจึงกำหนดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ต่อไป
    3) ประโยชน์ของข้อมูลจากจานดาวเทียม  ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์  ดังนี้
           3.1)  ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  หลังจากที่ได้มีการศึกษาและวางแผนอย่างมีระบบ  และได้มีการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว  เช่น  พื้นที่ที่ควรคืนสภาพป่า  พื้นที่ที่อนุญาตให้ตัดไม้  จำเป็นต้องมีวิธีการจัดการอย่างต่อเนื่อง  เช่น  การเข้าไปสังเกตการณ์  การตรวจวัดหรือตรวจสอบ  แต่ถ้าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่  การติดตามตรวจสอบทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้วามหมายภาพจากดาวเทียม  สามารถทำได้  ดังนี้
         3.2)  ด้านการทำแผนที่  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาสร้างเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง  เช่น  แผนที่ธรณีวิทยา  แผนที่ดิน  เป็นต้น  ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงช้า  และข้อมูลบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เช่น  การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า  การใช้ที่ดิน  เป็นต้น  สำหรับในประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมค่อนข้างจำกัด  สำหรับการจัดทำแผนที่เฉพาะเรื่อง  บทบาทสำคัญของข้อมูลดาวเทียมจึงใช้ในการปรับปรุงแผนที่เดิมที่มีอยู่แล้ว  เช่น  การปรับปรุงแผนที่ภูมิประเทศ  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน  เป็นต้น  ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่สำคัญ  เช่น  ดาวเทียม  LANDSAT  ดาวเทียม  SPOT  และ  MOS-1  เป็นต้น
            3.3)  ด้านอุตุนิยมวิทยา  ข้อมูลจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการติดตามลักษณะอากาศในช่วงเวลาตลอด  24  ชั่วโมง  ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความถูกต้องแม่นยำและทันเหตุการณ์
      ข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันและเตือนภัยพิบัติ  ลดความสูญเสียที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง  เช่น  การเกิดฝนฟ้าคะนอง  การเคลื่อนตัวของพายุ  การเกิดน้ำท่วม  เป็นต้น  ทำให้สามารถวางแผนการช่วยเหลือและฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสมในปัจจุบันดาวเทียมมีบทบาทมากขึ้นในหลายด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  ด้านความบันเทิง  ด้านการติดต่อสื่อสาร  ด้านธรณีวิทยา  ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา  หรือแม้แต่ด้านโทรคมนาคม  และดาวเทียมก็ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม

3.ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

   ระบบ GPS

ความหมาย
GPS เป็นระบบดาวเทียมที่ออกแบบและจัดสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการนำทาง (Navigation)
GPS คือ ระบบบอกพิกัดบนพื้นโลกโดยใช้ดาวเทียม การรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่เต็มท้องฟ้า 24 ดวงรับสัญญาณอย่างน้อยต้อง 3 ดวง
GPS เป็นเครื่องมือหาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์บนพื้นผิวโลกโดยอาศัยสัญญาณอ้างอิงจากระบบดาวเทียม ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจีพีเอส โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกอย่างเป็น ทางการว่า เครื่องมือหาพิกัดด้วยดาวเทียม
องค์ประกอบหลักของระบบ GPS1. ระบบดาวเทียมในวงโคจรรอบโลก (The Space segment)
2. สถานีควบคุม (The Control segment)
3. ผู้ใช้งานสัญญาณจีพีเอส (The User segment)
หลักการทำงานของระบบ GPS

GPS บอกพิกัดบนพื้นโลกโดยใช้ดาวเทียม การรับสัญญาณจากดาวเทียมที่โคจรอยู่เต็มท้องฟ้า 24 ดวง รับสัญญาณอย่างน้อยต้อง ดวง GPS เป็นเครื่องมือหาตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยสัญญาณอ้างอิงจากระบบดาวเทียม ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจีพีเอสโดยเฉพาะ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เครื่องมือหาพิกัดด้วยดาวเทียม” GPS ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ
ประเภทของเครื่องรับ GPS

 เครื่องรับสัญญาณ  GPS  แบ่งออกได้เป็น  2กลุ่ม  คือเ ครื่องประเภทที่สามารถรับดาวเทียมได้ ดวง หรือมากกว่าได้พร้อมกันทีเดียว กับเครื่องที่มีการรับดาวเทียมโดยการเรียงลำดับ และแต่ละกลุ่มยังแบ่งย่อยได้อีกคือ
        1. เครื่องรับแบบเรียงลำดับสัญญาณดาวเทียม ปกติเครื่องรับ GPS จะต้องมีข้อมูลจากดาวเทียมอย่างน้อย ดวง จึงสามารถคำนวณหาตำแหน่งที่ได้ เครื่องรับที่ใช้เรียงลำดับใช้ช่องรับ

1. บอกตำแหน่งว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
2. บันทึกเส้นทางว่าเราไปไหนมาบ้าง
3. ระบบนำร่องนำทางไปจุดหมายที่กำหนด (เครื่องบิน)
4. ระบบติดตามยานพาหนะ
5. ใช้ในการกำหนดจุดพิกัดผิวโลก เพื่องานด้านระบบสารสนเทศภูมศาสตร์ หรือข้อมูล คาวเทียม
6. ใช้ในการสำรวจรังวัดที่ดิน การสำรวจพื้นที่ และการทำแผนที่
7. ใช้ในกิจกรรมทางทหาร
8. ใช้ในการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9. การสำรวจพื้นที่ และการทำแผนที่
10. ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของคน สิ่งของ
11. ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร
12. ใช้ในการขนส่งทางทะเล
13. ตรวจวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและสิ่งก่อสร้าง
14. ใช้อ้างอิงในการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
15. ใช้ในการออกแบบเครือข่ายคำนวณตำแหน่งที่ตั้ง เช่น โรงไฟฟ้า ระบบน้ำมัน
16. ใช้ติดตามความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม
17. ใช้ในการติดตามอนุรักษ์และควบคุมสัตว์
18. ประยุกต์ใช้ด้านกีฬา
19. ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว
20. ใช้ในด้านความมั่นคงทางทหาร
        21. ใช้สำรวจรังวัด ทำแผนที่ 

  4.1 ความหมาย

    ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง

   GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (SpatialData) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกันจะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ – ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยายสามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

4.2 องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )










ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


          
 4.3 น้าที่ของ GIS ( How GIS Works )ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
   4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)

เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น

หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น
5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
 จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย
4.4  ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
     ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดเก็บระบบข้อมูลซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำ GIS มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
   1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ
   2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช
  3. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแพร่กระจายของฝุ่นและก๊าซ การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจาก โรงงาน การป้องกันความเสียหายของโบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยว การป้องกันไฟไหม้ป่า เป็นต้น
  4. ด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากร เพศ อายุ การศึกษา แรงงาน ตำแหน่งของโรงเรียนและการเดินทางของนักเรียน เป็นต้น
  5. ด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ของประชากรของหมู่บ้าน ตำบล สินค้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประเภทต่างๆ เป็นต้น

สรุประบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

(นักเรียนคลิกเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมได้)

                    แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=5Ss8wuNDnhg

         สรุปเนื้อหาเรื่องเครื่องมือและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
https://www.youtube.com/watch?v=4DbpTD0MvAg

สรุปเนื้อหาเรื่อง เครื่องมืือทางภูมิศาสตร์กับติวเตอร์คนเก่ง

นิ้วชี้ลง - CADian : โปรเเกรมทดเเทน AutoCAD ราคาสุดประหยัด


                    แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=SHAH9AkgzBo

...............................................................................................................................................................................................
............................................ใครเข้าใจเนื้อหาแล้วยกมือขึ้น...............................................
มือ, ลายนิ้วมือ, นิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้
*********************************************************************************
แหล่งสืบค้นข้อมูล

ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/13334/025652
       https://sites.google.com/site/geographeibyjik/home-1
       http://www.gistda.or.th/main/th/node/815        

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.5

  พระรัตนตรัย ความหมายของพระธรรม            พระธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ) ความหมายของพระธรรม คือ ค...